บทที่2
บทที่2
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาค้นคว้า และพัฒนาเว็บไซต์ เรื่องไม้กวาดทางมะพร้าว เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการไม้กวาดทางมะพร้าว คณะผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลและ เอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้
2.1ไม้กวาดทางมะพร้าว
2.2 เว็บไซต์ (Website)
2.3 Blog คืออะไร
2.1 ไม้กวาดทางมะพร้าว
ไม้กวาดทางมะพร้าว หรือบางท้องถิ่นว่า ตาด เป็นไม้กวาดชนิดหนึ่ง ทำจากทางมะพร้าว (บางแห่งใช้ทางตาล) มามัดรวมกันบนปลายด้ามไม้ไผ่ซึ่งมีลักษณะคล้ายลำทวนและโดยทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว แล้วถักและร้อยรัดประกอบกันให้แน่นหนา ผลิตขึ้นเนื่องจากไม้กวาดดอกหญ้าหรือหญ้าขัดมอญแบบทั่วไปอาจใช้ไม่สะดวกนัก และอาจใช้เวลานานในการใช้ทำความสะอาด การใช้ไม้กวาดทางมะพร้าว พบมากในกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นพระธุดงค์ เพราะต้องอาศัยอยู่ในป่าและแมกไม้ จึงต้องปัดกวาดมูลฝอยที่เกิดจากขยะใบไม้ด้วยไม้กวาดประเภทนี้
การทำไม้กวาดทางมะพร้าวด้วยก้านมะพร้าว
ไม้กวาดทางมะพร้าว คือ ไม้กวาดที่ทำได้จากก้านใบย่อยของทางมะพร้าว โดยตัดก้านใบย่อยตรงโคนก้านออกจากทางมะพร้าว จากนั้น นำใบมะพร้าวมากรีดแยกแผ่นใบทั้งสองข้างออก ก่อนนำไปตากแดดให้แห้ง จากนั้น ตัดโคนก้านให้เสมอกัน ก่อนนำมามัดติดเป็นแผงกับด้ามไม้ไผ่ ไม้กวาดทางมะพร้าว เป็นวัสดุทำความสะอาดที่ประดิษฐ์ได้ภายในครัวเรือน นิยมใช้สำหรับกวาดทำความสะอาดลานบ้าน ลานหญ้า สำหรับกวาดเศษดิน ก้อนดิน หิน ทราย เศษใบไม้หรือ เศษมูลฝอยที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ให้กองรวมกัน ก่อนนำไปกำจัด แต่ไม่สามารถกวาดทำความสะอาดฝุ่นขนาดเล็กได้
ทางมะพร้าวที่ใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว นิยมใช้พันธุ์พื้นเมือง เพราะใบย่อยมีขนาดใหญ่ และยาว เมื่อนำมากรีดแผ่นใบออกจะได้ก้านใบที่มีขนาดใหญ่ และยาวกว่าก้านใบของมะพร้าวพันธุ์การค้าอื่นๆ
1. การเลือกใช้ทางมะพร้าว
การทำไม้กวาดทางมะพร้าว จะต้องคำนึงถึงการใช้ประโยชน์เป็นสำคัญ ได้แก่
1. ไม้กวาดทางมะพร้าวสำหรับกวาดบนปูนซีเมนต์ จะต้องใช้ก้านใบมะพร้าวที่มีลักษณะอ่อน โค้งตัวได้ดี ได้จากทางมะพร้าวที่ไม่แก่มาก แผ่นใบ และก้านใบยังมีสีเขียวสด
2. ไม้กวาดทางมะพร้าวสำหรับกวาดบนพื้นดิน จะต้องใช้ก้านใบมะพร้าวที่มีลักษณะแข็ง ได้จากทางมะพร้าวที่แก่เต็มที่แล้ว แผ่นใบมีสีเขียวเข้มหรือสีเหลือง และก้านใบมีสีน้ำตาล มีลักษณะแข็ง
2. การเลือกใช้ด้ามไม้กวาด
ด้ามไม้กวาดทางมะพร้าว ทำได้จากไม้หลายชนิด ได้แก่ ไม่ไผ่ ไม้ข่อย ไม้กระถิน เป็นต้น แต่ที่นิยมมาก คือ ด้ามไม้กวาดจากไม้ไผ่ตัน เพราะขนาดลำไม้เหมาะแก่การจับ มีน้ำหนักเบา มีความแข็งแรง ทนทาน และตอกตะปูยึดได้ง่าย ทั้งนี้ ไม้ชนิดต่างๆที่ใช้ ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. ขนาดลำหรือเส้นผ่าศูนย์กลางพอเหมาะกับมือจับ ประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร
2. เป็นไม้เนื้อแข็ง มีความแข็งแรง ไม่ผุหรือหักง่าย
3. มีน้ำหนักเบา
4. เพลา ตรง ไม้บิดงอ
5. ไม่มีเสี้ยน ไม่มีตากิ่งหรือมีน้อย
3.การเตรียมด้ามไม้ไผ่
1. เลือกตัดด้ามไม้ไผ่ชนิดไม้ไผ่ตัน เป็นลำต้นแก่ สีเขียวเข้มหรือมีปะสีเหลืองหรือสีน้ำตาล ลำต้นต้องเพลา และตรงขนาดลำต้นประมาณ 2-3.5เซนติเมตร
2. ใช้มีดเหลาวงข้อหรือตากิ่งออก และเหลาไม่ให้มีเสี้ยนติด
3. นำลำไม้ไผ่มาลวกไฟ ส่วนที่บิดงอต้องดัดให้ตรง ไม่ควรลวกไฟนานจนไหม้ดำ จากนั้น นำตากแดด 15-30 วัน เพื่อให้ลำแห้งมากขึ้น
4. นำลำไม้ไผ่ตัดเป็นท่อนด้วยเลื่อย ยาวประมาณ 1-1.5 เมตร หรือตามความยาวด้ามไม้กวาดที่ต้องการ โดยเลือกตัดบริเวณลำไม้ที่มีขนาดเหมาะกับมือจับ ส่วนที่เหลือนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น
5. ใช้สิ่วเจาะรูทางด้านปลายด้าม ขนาด 0.5 x 1.0 เซนติเมตร และเจาะให้ห่างจากปลายด้ามประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ซึ่งจะได้ด้ามไม้ไผ่ พร้อมมัดหรือตอกติดกับก้านใบมะพร้าว ต่อไป
6. ตัดไม้ไผ่ และเหลาให้เกลี้ยง สำหรับทำเป็นไม้สลักสอดเข้ารูด้ามไม้กวาด ขนาดหนา 0.5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร และยาว 5 เซนติเมตร ทั้งนี้ ไม้สลักอาจใช้หรือไม่ใช้ก็ได้
4. การเตรียมก้านใบมะพร้าว
1. เลือกตัดทางมะพร้าวอ่อนหรือแก่ตามที่ต้องการใช้งาน
2. ตัดใบย่อยออก ให้ตัดบริเวณโคนก้านใบติดกับทางมะพร้าว หรือ นำทางมะพร้าวตากแดดให้แห้ง แล้วค่อยตัดก้านใบออก แต่การตัดขณะสดจะตัดง่ายกว่า
3. นำแผ่นใบมะพร้าวสดมากรีดแผ่นใบทั้งสองข้างออก จากนั้น นำไปตากแดดให้แห้ง 7-10 วัน ส่วนใบมะพร้าวที่แห้งแล้ว นำไปตากแดดเพียง 1-2 วัน ก็ใช้ได้
4. เมื่อก้านใบมะพร้าวแห้ง ให้มัดเก็บไว้ในที่ร่ม รอมัดติดกับด้ามไม้กวาด ต่อไป
การทำไม้กวาดทางมะพร้าว คือ ภูมิปัญญาอย่างหนึ่งที่คนไทยเรารู้จักคิดค้นหาวิธีประดิษฐ์ขึ้นจนสำเร็จและสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ต้นมะพร้าวเพียง 1 ต้น สามารถทำให้เกิดประโยชน์ได้หลายอย่าง นอกจากจะนำน้ำมะพร้าวมาดื่ม เนื้อมะพร้าวมารับประทาน ทั้งรับประทานเนื้อสด ๆ หรือนำมาคั้นเป็นกะทิใส่ในอาหารคาว หวาน ได้หลายอย่างแล้ว กะลามะพร้าวยังสามารถนำมาประดิษฐ์สิ่งของได้เช่นกัน อาทิ เครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ สร้อยแขน แหวน กำไล เข็มขัด ของใช้ เช่น กะลาก๊อบแก๊บ เปลือกของลูกมะพร้าวสามารถนำมาปลูกต้นไม้ได้ เช่น ปลูกต้นกล้วยไม้ ยอดอ่อนของมะพร้าวก็สามารถนำมาทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น แกงไก่ใส่ยอดมะพร้าวอ่อน ยำยอดมะพร้าวอ่อน ยอดมะพร้าวอ่อนผัดกุ้ง ตำยอดมะพร้าวอ่อน เป็นต้น เยื่อหุ้มต้นมะพร้าวสามารถนำมาทำเป็นกระเป๋าได้ ลำต้นก็สามารถนำมาทำเก้าอี้ ทำรั้ว ใบมะพร้าวก็สามารถนำมาสานปลาตะเพียน ตั๊กแตน และเอามาห่อขนมได้ ส่วนทางมะพร้าว ก็สามารถนำมาทำไม้กวาดปัดหยากไหย้ แจกัน ขันโตก ไม้กลัดห่อขนมหรือของต่าง ๆการทำไม้กวาดทางมะพร้าว คือ ภูมิปัญญาอย่างหนึ่งที่คนไทยเรารู้จักคิดค้นหาวิธีประดิษฐ์ขึ้นจนสำเร็จและสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ต้นมะพร้าวเพียง 1 ต้น สามารถทำให้เกิดประโยชน์ได้หลายอย่าง นอกจากจะนำน้ำมะพร้าวมาดื่ม เนื้อมะพร้าวมารับประทาน ทั้งรับประทานเนื้อสด ๆ หรือนำมาคั้นเป็นกะทิใส่ในอาหารคาว หวาน ได้หลายอย่างแล้ว กะลามะพร้าวยังสามารถนำมาประดิษฐ์สิ่งของได้เช่นกัน อาทิ เครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ สร้อยแขน แหวน กำไล เข็มขัด ของใช้ เช่น กะลาก๊อบแก๊บ เปลือกของลูกมะพร้าวสามารถนำมาปลูกต้นไม้ได้ เช่น ปลูกต้นกล้วยไม้ ยอดอ่อนของมะพร้าวก็สามารถนำมาทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น แกงไก่ใส่ยอดมะพร้าวอ่อน ยำยอดมะพร้าวอ่อน ยอดมะพร้าวอ่อนผัดกุ้ง ตำยอดมะพร้าวอ่อน เป็นต้น เยื่อหุ้มต้นมะพร้าวสามารถนำมาทำเป็นกระเป๋าได้ ลำต้นก็สามารถนำมาทำเก้าอี้ ทำรั้ว ใบมะพร้าวก็สามารถนำมาสานปลาตะเพียน ตั๊กแตน และเอามาห่อขนมได้ ส่วนทางมะพร้าว ก็สามารถนำมาทำไม้กวาดปัดหยากไหย้ แจกัน ขันโตก ไม้กลัดห่อขนมหรือของต่าง ๆ
2.2 เว็บไซต์ ( Website )
เว็บไซต์ (อังกฤษ: Website, Web site หรือ Site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยง กันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำ ขึ้นเพื่อนา เสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ใน เวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะ ให้บริการต่อผู้ใช้ฟรีแต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการ เพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์ ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำ เว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือ องค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์
หลักในการออกแบบเว็บไซต์
ขั้นตอนที่ 1 กำหนดโครงสร้างของเว็บไซต์ การสร้างเว็บไซต์นั้นควรเริ่มจากการสร้างแผนผังของเว็บไซต์ก่อน หรือที่เรียกว่า Site Map
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดการเชื่อมโยงระหว่างเว็บเพจ
กำหนดการเชื่อมโยงให้เว็บเพจแต่ละหน้าเชื่อมโยงถึงกันเพื่อให้กลับไปกลับมา ระหว่างหน้าต่าง ๆ ได้ โดยแสดงชื่อไฟล์ HTML แต่ละไฟล์ที่มีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน
ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบเว็บเพจแต่ละหน้า
สามารถออกแบบหน้าเว็บเพจแต่ละหน้าให้สวยงาม โดยเฉพาะในเว็บเพจหน้าแรก ซึ่งเรียกว่า โฮมเพจนักเรียนควรออกแบบให้สวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชมในขั้นตอนการออกแบบ นี้ บางทีอาจเรียกว่าการออกแบบเลย์เอาท์ (Lay Out) สามารถทา ได้โดยการเขียนลงในกระดาษ หรือใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบก็ได้
ขั้นตอนที่ 4 การสร้างเว็บเพจแต่ละหน้า
นำเว็บเพจที่ออกแบบไวม้าสร้างโดยใช้ภาษา html หรืออาจใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น FrontPage, Macromedia Dreamweaver หรือโปรแกรมสำเร็จรูปอื่น ๆ ตามความถนัด
ขั้นตอนที่ 5 การลงทะเบียนขอพื้นที่เว็บไซต์
การเผยแพร่เว็บไซต์ที่สร้างเสร็จแล้ว เข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้บุคคลอื่นๆ สามารถเข้าชมเว็บไซต์ของเราได้ วิธีการ คือ นำเว็บไซต์ที่เราสร้างขึ้นไปไว้บนพื้นที่ที่ให้บริการ (Web Hosting) ซึ่งมีพื้นที่ ที่ให้บริการฟรี และแบบที่ต้องเสียค่าบริการ
ขั้นตอนที่ 6 การอัพโหลดเว็บไซต์
หลังจากสร้างเว็บไซต์และลงทะเบียนขอพื้นที่สำหรับฝากเว็บไซต์แล้ว ให้ใช้โปรแกรม สำ หรับอับโหลด (Upload) เช่นโปรแกรม CuteFTP เพื่อให้คนทั่วโลกสามารถเข้าชมเว็บไซต์ของเรา ผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
หลักในการสร้างเว็บเพจ
1. การวางแผน
กำหนดเนื้อหา ก่อนลงทำเว็บ เราจะต้องรู้ว่าเราจะทำเว็บเกี่ยวกับอะไร เนื้อหาเป็นอย่างไร กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มใด ทั้งนี้เพื่อที่เราจะไดนำเนื้อหา เหล่านั้นมาใส่ในเว็บเพื่อแสดงให้เห็นว่าเนื้อหา โดยรวมเกี่ยวกับอะไร เช่น เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ก็ต้องมีข้อมูลของคอมพิวเตอร์แต่ละชนิด ลักษณะ ราคาแต่ละรุ่นและสถานที่ขาย เป็นต้น
ออกแบบมุมมองในหน้าเว็บ (LayOut) คือการจัดวางองค์ประกอบในเว็บเพจว่าส่วนใดควรจะ มีอะไร อาจทำโดยการร่างใส่กระดาษเปล่า ๆ ไว้ก่อนหรือใช้โปรแกรมแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการ ออกแบบก็ได้ การใช้ตารางช่วยในการจัดองค์ประกอบในหน้าเว็บนั้นจะทำ ให้เว็บเพจมีความเป็น ระเบียบยิ่งขึ้น และสะดวกต่อการแก้ไข ปรับปรุง
2. การเตรียมการ
เช่น การเตรียมการด้านข้อมูลทั้งที่เป็นเนื้อหา ภาพ เสียง หรือสิ่งจำเป็นต่างๆ ที่นักเรียนคิดว่า ต้องการจะนำเสนอในการทำเว็บเพจนั้น เมื่อเรารู้แล้วว่าเราจะทำเว็บเกี่ยวกับอะไร การรวบรวมข้อมูลก็ มีส่วนสำคัญย่างยิ่ง เช่น ถ้าจะทำเว็บ เกี่ยวกับ โรงเรียน ก็ต้องไปหาคติพจน์ประจำ โรงเรียน สีประจำโรงเรียน บุคลากรในโรงเรียน ประวัติโรงเรียน ฯลฯ มารวบรวมไว้ แล้วหลังจากนั้นก็เอาข้อมูลนั้นมา จัดรูปแบบในเว็บต่อไป การหาเครื่องมือในการจัดทำ นั้น ก็เป็นเรื่องสำคัญเครื่องมือในที่นี้ หมายถึง
โปรแกรมการทำงานต่าง ๆ เช่นโปรแกรมจัดการรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ โปรแกรมในการ จัดทำเว็บเพจจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหรือจะใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ ในการสร้างต้องเตรียมการให้ พร้อม
3. การจัดทำ
เมื่อวางแผนและเตรียมการเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาจัดทา อาจจะทำคนเดียว หรือทำ เป็นกลุ่ม โดยใช้เครื่องมือที่เตรียมไว้ซึ่งจะอธิบายถึง วิธีการจัดทา หรือวิธีการสร้างเว็บเพจในลำ ดับต่อไป
4. การทดสอบและการแก้ไข
การสร้างเว็บเพจทุกครั้งควรจะมีการทดสอบก่อนเผยแพร่ทุกครั้งเพื่อหาข้อบกพร่องแล้วนำมา แก้ไขการทำเว็บนั้นเมื่อทำเสร็จและอับโหลดไปไว้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์แล้วให้ทดลองแนะนำ เพื่อนที่ สนิทชิดเชื้อและใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ ลองเปิดดูและให้บอกข้อผิดพลาดมา เช่น การเชื่อมโยงต่าง ๆ , รูปภาพ และตัวอักษร ว่าถูกต้องช้าไป หรือเปล่า หากทดสอบจากเครื่องของตนเองแล้ว ข้อผิดพลาด ต่างๆ มักจะไม่ค่อยปรากฏให้เห็นเนื่องจากว่าข้อมูลต่างๆ จะอยู่ในเครื่องของตนเองและการเชื่อมโยง ต่างๆ เช่นกัน โปรแกรมจะทา การค้นหาในเครื่องจนพบ ทา ให้เราไม่เห็นข้อผิดพลาด หลังจากทดสอบ แล้วให้ดำเนินการแก้ไขข้อผิดพดลาด
5. การนำเว็บเพจต่าง ๆ มารวบรวมเป็นเว็บไซต์ เมื่อสร้างเว็บเพจเสร็จ จัดรวบรวม และเรียบเรียงหน้าเว็บเพจแต่ละหน้าทำ การทดสอบ แก้ไข ปรับปรุงเสร็จแล้ว ก็สามารถเผยแพร่เว็บเพจทั้งหมดออกสู่สาธารณชนในรูปแบบของเว็บไซต์ได้
2.3 Blog คืออะไร
รู้จักกับ Blog
Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)
ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง
มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถแตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น
จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้น
ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq
เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจากการเขียนเป็นงานอดิเรกของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูลตั้งแต่เรื่องการเมืองไปจนกระทั่งเรื่องราวของการประชุมระดับชาติ และจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ที่สำคัญอย่างแท้จริงสรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ที่มีรูปแบบเนื้อหาเป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น